วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

แมว พันธุ์เปอร์เซีย


                เปอร์เซีย เป็นแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเปอร์เซีย หรืออิหร่าน ถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่าง ๆ ทั้งใน ยุโรปและอเมริกาเป็นเวลาเกือบร้อยปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยจัดเป็นแมวต่างประเทศ พันธุ์แรกที่ถูกนำมาเผยแพร่ เนื่องจากเป็นแมวที่มีอุปนิสัยอ่อนโยน สุขุมเข้ากับคนง่าย มี ความร่าเริงซุกซน ชอบประจบประแจงและมีไหวพริบ

ลักษณะพิเศษ
  • มีหลายสี เช่น สีเทา สีน้ำตาล สีเหลือง สีดำ เป็นต้น
  • ขนาดลำตัวใหญ่กว่าแมวไทยเล็กน้อย และขนยาวนุ่มสลวยปกคลุมทั่วร่างกาย ศีรษะกลมและกว้าง ช่วงคอสั้น ใบหูเล็กเท้าอวบใหญ่ หางสั้นเป็นพวงระย้า ที่เด่นมากคือ มีขนที่ลำคอเป็นปุยยาว ฟูและดกมาก


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

Animal Farm


          Animal farm เป็นวรรณะกรรมอมตะ แนวเสียดสีการเมือง ประพันธ์โดย George Orwell นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อ17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) แปลเป็นภาษาไทยหลายเวอร์ชั่น มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ และมีการนำไปแสดงเป็นละครเวทีด้วย……โครงสร้างของเรื่อง Animal Farm ผู้ประพันธ์ต้องการวิพากษ์วิจารณ์เสียดสีการเมืองของสหภาพโซเวียตรัสเซีย ในสมัยที่มีการปฏิวัติล้มล้างการปกครอง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคผู้นำที่มีชื่อว่า “โจเซฟ สตาลิน”โดยสมมุติตัวละครเป็นสัตว์นานาชนิดที่มีชีวิตอยู่ร่วมกัน ในฟาร์มแห่งหนึ่งชื่อ “ไร่แมนเนอร์”  ซึ่งมีชาวนาขี้เมาเป็นเจ้าของ แต่เพราะฤทธิ์สุราทำให้เขาละเลยและไม่รับผิดชอบ ไม่ใส่ใจดูแลบรรดาสัตว์ต่างๆเป็นเหตุให้พวกสัตว์ทั้งหลายรวมตัวกันปฏิวัติ
ผู้แต่ง
          จอร์จ ออร์เวลล์ (อังกฤษGeorge Orwell) เป็นนามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ (อังกฤษEric Arthur Blair) นักเขียนชาวอังกฤษ (25 มิถุนายนพ.ศ. 2446 - 21 มกราคม พ.ศ. 2493) นอกจากจะเป็นนักวิจารณ์ด้านการเมืองและวัฒนธรรมแล้ว ออร์เวลล์ยังเป็นนักเขียนความเรียงที่มีผู้ชื่นชมมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามเขาเป็นที่รู้จักจากนวนิยายสองเรื่องที่เขาเขียนช่วงท้ายทศวรรษ 1940 ชื่อ ฟาร์มสัตว์ (Animal Farm) ซึ่งเป็นนิยายล้อเลียนการเมือง (มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในภายหลังด้วย) และ หนึ่งเก้าแปดสี่ (1984) ซึ่งกล่าวถึงดิสโทเปียที่มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างเห็นภาพ จนกระทั่งมีการใช้คำว่า แบบออร์เวลล์ เพื่อใช้เรียกระบบระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในการครอบงำความคิด 
สาระสำคัญสองประการเป็นเรื่องที่มิอาจโต้แย้ง คือ
1. ความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องในอุดมคติเท่านั้น ไม่ว่าการปกครองในระบบสังคมนิยม ระบบทุนนิยม ระบบศักดินา ก็ไม่มีความเท่าเทียมกัน
2. กฎย่อมถูกกำหนดเพื่อประโยชน์ของผู้ออกกฎเสมอ และผู้ลบล้าง-ละเมิดกฎมากที่สุดก็มักจะเป็นผู้มีอำนาจที่ออกกฎนั้นเอง